การสูดดม ควันมือสอง โดยไม่ตั้งใจส่งผลร้ายแค่ไหน? คนสูบอาจไม่รู้ว่าส่งผลกระทบอย่างไรต่อคนรอบข้าง แต่คนไม่ได้สูบต้องรู้!
เราต่างรู้กันดีว่าการสูบไม่ได้ส่งผลดีสำหรับตัวเองนัก แต่คุณจะรู้หรือไม่ว่ามันยังมีความเสี่ยงที่เกิดจากภาวะแทรกซ้อนต่อสุขภาพจากควัน ที่เรียกกันว่า “ควันมือสอง” ที่สามารถส่งผลกระทบกระทบต่อครอบครัว หรือแม้กระทั่งคนแปลกหน้าที่ต่างต้องสูดอากาศที่เต็มไปด้วยควันจากที่มาจากตัวผู้สูบนั่นเอง
ควันมือสอง เกิดจากอะไร?

ควันมือสอง ที่เกิดมาจากการเผาไหม้จากใบยาสูบ จะทำให้เกิดสารพิษที่ปะปนอยู่ในควัน และปะปนอยู่ในอากาศซึ่งสารพิษมากกว่า 70 ชนิด สามารถปะปนอยู่นอากาศได้นานถึง 5 ชั่วโมง ซึ่งเราจะไม่สามารถรับรู้ได้เลย เพราะ ไม่มี กลิ่น และรูปร่าง หากมีการรับ เป็นเหตุให้คนใกล้ชิดมีความอันตรายไปด้วย โดยหากมีสูดดมควันไปมากๆ อาจมีโอกาสเกิดโรคหัว หรือโรคมะเร็งได้ หรือหาก ควันสัมผัสโดนใบหน้า เช่น ตา จมูก อาจก่อให้เกิดอาการแพ้ ระคายเคืองได้
สารพิษ ที่เกิดจากการเผาไหม้

ภายในใบยาสูบมือสองนั้น ล้วนแต่มีสารพิษที่เป็นอันตรายต่อร่างกายมากมาย ซึ่งแต่ละสารพิษจะส่งผลกระทบต่อร่างกายที่แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะทำให้เกิด โรคต่างๆที่เกี่ยวกับทางเดินอาหาร โรคหัวใจ โรคมะเร็ง ฯลฯ รวมถึงทำให้เกิดการระคายเคืองในส่วนต่างๆ บนร่างกาย
9 โรคร้าย ที่มากับควันมือสอง กระทบโดยตรงต่อคนรอบข้าง

ในตอนนี้ข้อมูลล่าสุดจากสมาคมโรคปอดแห่งอเมริกา (American Lung Association) อัพเดตล่าสุด: 9 เม.ย. 2563 ได้มีการระบุไว้ว่า ควันมือสองเป็นสาเหตุของโรคร้าย 9 ประเภทที่กระทบต่อคนที่สูดดมโดยตรงและรวดเร็วมากกว่าคนที่สูบ ได้แก่
• โรคมะเร็งปอด และมะเร็งกล่องเสียง ร้อยละ 80-90 ของผู้ป่วยมะเร็งปอด เกิดจากการสูบ หรือผู้ที่มีการสูดควันเข้าไป ซึ่งจะมีอาการ ไอเรื้อรัง เจ็บหน้าอก หายใจได้สั้น ฯลฯ
• โรคหัวใจ พบว่าคนที่สูดควันมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคหัวใจมากกว่าคนไม่สูบ ถึง 2.4 เท่า ซึ่งจะมีอาการ เจ็บแน่นๆ อึดอัด บริเวณกลางหน้าอก ฯลฯ

• โรค SIDS (Sudden Infant Death Syndrome) หรือโรคไหลตายในเด็ก มีหลักฐานบ่งชี้ว่า การสูบ หรือได้รับควัน ของมารดา อาจทำให้เกิดโรคนี้ได้
• โรคหลอดเลือดในสมองตีบหรือแตก พบว่าในผู้สูดควันเข้าไปมากๆ จะเพิ่มโอกาสในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองเร็วขึ้น ซึ่งอาจก่อให้เกิดอาการของอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

• โรคหอบหืดเฉียบพลัน พบว่าในผู้ที่สูดควันจะมีอาการหายใจไม่อิ่ม เหนื่อยง่าย มีอาการไอ ฯลฯ ซึ่งเป็นต้นเหตุของการเกิดโรคหอบหืด
• หูชั้นกลางอับเสบในตัวเด็ก หรือ หูน้ำหนวก ในควันนั้นมีสารพิษที่จะเข้าไปทำลายเยื่อบุผิวหนังชั้นนอก ทำให้การป้องกันการติดเชื้อของหูชั้นกลางเสียทำไม จึงทำให้เกิดการอักเสบได้ง่าย

• โรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบหายใจในทารกและเด็กเล็กมักพบโรคนี้เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 3 ปี ซึ่งควันก็เป็นหนึ่งในความเสี่ยงที่เกิดโรคนี้ได้เช่นกัน
• ภาวะคลอดก่อนกำหนด ซึ่งก่อให้ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักน้อย พบว่าในขณะที่กำลังตั้งครรภ์ หากมีการรับควันเข้าไป อาจก่อให้เกิดภาวะการคลอดก่อนกำหนดได้

• โรคปอดอักเสบติดเชื้อในเด็ก ภายในควันล้วนมีสารพิษต่อร่างกายมากมาย หากเด็กที่มีภูมิต้านทานต่ำ และได้มีการสูด ควันมือสอง เข้าไป อาจก่อให้เกิดโรคปอดอักเสบติดเชื้อได้ นั้นเอง
แต่อย่างไรก็ตาม หากเกิดการเสพติดนิโคตินจนไม่สามารถเลิกได้ อาจหันมาใช้นวัตกรรม ซึ่งเป็นอีกตัวเลือกของเหล่านักสูบ ด้วยกระบวนการทำงานที่ใช้แบตเตอร์รี่ในการสร้างความร้อนกลายเป็น ไอน้ำ ไม่ใช้เกิดจากการเผาไหม้ กลายเป็น ควัน จึงทำให้สารพิษที่ได้ไฟฟ้านั้นน้อยกว่ามาก และในขณะที่สูบให้ห่างไกลกับผู้ที่กำลังตั้งครรภ์หรือเด็กทารก เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้
ทั้งนี้เคยได้รับการยืนยันจาก นางโรซานนา โอ คอนนอร์ ผู้อำนวยการสำนักควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบ สำนักงานสาธารณสุขอังกฤษ (Public Health England: PHE) ระบุถึงรายงานของ PHE ในปี 2018 ว่า “ไอไม่เป็นอันตรายต่อผู้ที่อยู่รอบข้าง” และล่าสุดนี้ยังกล่าวอีกว่า ในตอนนี้ก็ไม่ได้มีหลักฐานว่าไอละอองของไฟฟ้าจะนำพาให้ผู้ใช้งานติดเชื้อโคโรน่าไวรัส อีกด้วย
ขอบคุณข้อมูลจาก :
https://www.lung.org/research/sotc/by-the-numbers/9-diseases-secondhand-smoke
https://vaping360.com/learn/difference-between-smoke-and-vapor/